เคล็ดลับในการขอสินเชื่อทุกประเภทให้ผ่านฉลุย

0000-00-00

40% คือตัวเลขโดยประมาณของการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน ดังนั้นคำที่ว่า




“ธนาคารคือธุรกิจที่จะปล่อยสินเชื่อให้ ถ้าคุณสามารถพิสูจน์ได้ว่าคุณไม่ได้ต้องการ” – Bob Hope




ไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงไปนัก โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีนักด้วยแล้ว สถาบันการเงินยิ่งกลัวหนี้เสียขึ้นสมอง



แต่ผู้ขอกู้ สามารถเพิ่มโอกาสการได้รับอนุมัติสินเชื่อได้ โดยการเตรียมความพร้อมและทำการบ้านก่อนทำการสมัครขอกู้สินเชื่อทุกครั้ง วันนี้เราจะมาแนะนำ 9 เคล็ดลับง่ายๆ ในการเพิ่มโอกาสอนุมัติสินเชื่อทุกประเภท




  1. สมัครทีละสถาบันการเงิน !



สถาบันการเงินจะรู้ว่า ช่วง 6 เดือนล่าสุด ผู้สมัครกู้ได้ทำการยื่นขอสมัครสินเชื่อไปกี่ครั้ง จากเครดิตบูโร ซึ่งถ้ามีการยื่นขอสมัครเป็นจำนวนมาก สถาบันการเงินจะระมัดระวังในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อใหม่ให้ เพราะถือว่าเป็นผู้กู้ที่มีความต้องการสินเชื่อมากและมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นไม่ควรจะยื่นขอสินเชื่อเยอะๆ หลายๆที่ เพราะนั่นจะทำให้ผู้กู้ถูกปฏิเสธทุกที่! ควรจะศึกษาหาข้อมูลและเลือกสมัครสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เหมาะสมกับคุณสมบัติเรามากที่สุดแล้วสมัครที่เดียวพอ นั่นจะทำให้เรามีโอกาสได้รับอนุมัติสูงที่สุดนั่นเอง การสมัครบัตรเครดิตก็นับเป็นการสมัครสินเชื่อหนึ่งครั้งด้วยนะ ดังนั้นไม่ควรไปสมัครบัตรใหม่ก่อนสมัครสินเชื่อที่ต้องการจริงๆล่ะ




  1. มีหนี้ !



อ่านถูกแล้วครับ หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมมีหนี้ แล้วจะช่วยให้อนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้นอย่างไร คืออย่างงี้ครับ ทุกครั้งที่เรามีหนี้ (หนี้ในระบบเท่านั้น) เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อรถ, สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อรถจักรยานยนต์ ประวัติหนี้สินทุกอย่างทั้ง วงเงินอนุมัติ ประวัติการชำระหนี้ต่างๆ จะถูกส่งไปรวบรวมที่ เครดิตบูโร และสถาบันการเงินจะเรียกดูทุกครั้งที่มีการขอสินเชื่อเพื่อใช้พิจารณาประกอบการอนุมัติสินเชื่อ ดังนั้นแล้วผู้ที่ไม่เคยมีประวัติหนี้สินใดๆเลย สถาบันการเงินก็จะไม่เห็นประวัติการชำระหนี้ ทำให้สถาบันการเงินไม่สามารถประเมิน ความรับผิดชอบในการชำระหนี้ของผู้สมัครกู้ได้ และอาจจะไม่อนุมัติสินเชื่อก้อนใหญ่เช่น สินเชื่อรถ, สินเชื่อบ้าน, หรือ สินเชื่อธุรกิจให้ได้ ดังนั้นถ้ายังไม่มีสินเชื่อใดๆเลย เราควรจะมีและใช้บัตรเครดิตบ้าง เพื่อให้มีประวัติหนี้และประวัติการชำระหนี้ให้สถาบันการเงินได้เห็น ยิ่งเรามีประวัติหนี้ที่ยิ่งนานยิ่งเป็นผลดีต่อการได้รับอนุมัติสินเชื่อ เพราะถือว่ามีประวัติการชำระหนี้มายาวนานเป็นเครื่องพิสูจน์ความรับผิดชอบต่อหนี้ของผู้สมัครที่ดีนั่นเอง




  1. ชำระหนี้ให้ตรงเวลา



มีหนี้แล้วก็ต้องชำระหนี้ให้ตรงเวลาด้วย ไม่งั้นจะกลายเป็นผลทำให้ไม่ผ่านอนุมัติได้ ถ้าหากผู้สมัครชำระหนี้ล่าช้าเป็นประจำ ประวัติการชำระหนี้ทุกสินเชื่อจะถูกรวบรวมไว้เป็นข้อมูลเครดิตที่เครดิตบูโร และแสดงถึงความรับผิดชอบในการชำระหนี้ของผู้สมัคร ดังนั้นการชำระหนี้สินทุกบัญชีให้ตรงเวลาย่อมส่งผมสำคัญให้สถาบันการเงินใช้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อใหม่ อย่างน้อยคือ ชำระหนี้ตรงเวลาเป็นประจำอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการสมัครสินเชื่อใหม่ จะดีที่สุด




  1. ปิดหนี้ที่เคยปรับโครงสร้างหนี้ให้หมดก่อน



เมื่อผู้กู้ค้างชำระจ่ายหนี้เป็นเวลาหลายงวด หรือ/และ ได้เจรจาปรับโครงสร้างหนี้/ประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน ข้อมูลนี้ก็จะถูกบันทึกในเครดิตบูโร หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “ติดแบล็กลิสต์บูโร”นั่นเอง ทำให้เมื่อยื่นสมัครสินเชื่อใหม่ก็จะถูกปฏิเสธจากสถาบันการเงินตลอด เพราะสถาบันการเงินเห็นประวัติการปรับโครงสร้างหนี้อันนี้นี่เอง ดังนั้นผู้สมัครควรจะรีบปิดบัญชีที่เคยปรับโครงสร้างหนี้ให้หมดเป็นอันดับต้นๆ เพื่อเปลี่ยนสถานะบัญชีให้กลับมาเป็น”ปิดบัญชี” ก่อนไปทำการสมัครสินเชื่อใหม่นะ สถาบันการเงินจะจะได้ไม่เห็นประวัติตรงนี้ไง




  1. ใช้บัตรเครดิต/ บัตรกดเงินสด/ โอดี ไม่เต็มวงเงิน



ผู้กู้ที่มีหนี้เกือบเต็มวงเงินในทุกบัญชีบัตรเครดิต/ บัตรกดเงินสด/โอดี จะถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาชำระหนี้ในระยะสั้นที่สูง ดังนั้นสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะลังเลที่จะอนุมัติสินเชื่อใหม่ให้ ดังนั้นต้องผู้สมัครควรทำการชำระหนี้ให้เหลือวงเงินไว้บ้างในบัญชีบัตรเครดิต/ บัตรกดเงินสด / โอดี ในช่วงที่ต้องการยื่นขอกู้สินเชื่อใหม่ๆ แต่ไม่ใช่ว่าผู้สมัครไปขอวงเงินเพิ่มหรือสมัครบัตร/บัญชีใหม่นะ เพราะมันจะเป็นผลลบมากกว่าผลบวกเพราะจะไปขัดกับข้อ 1 ที่ว่าจะมีประวัติขอสินเชื่อใหม่ในระยะ 6 เดือนเพิ่มขึ้น และโอกาสอนุมัติจะลดลงมากกว่า




  1. รีไฟแนนซ์ เพื่อลดภาระผ่อนชำระต่อเดือน



สถาบันการเงินจะนำยอดภาระผ่อนของทุกสินเชื่อมาหักออกจากรายได้ต่อเดือนของผู้ขอกู้ ก่อนนำมาคำนวน ว่าผู้ขอกู้มีความสามารถในการชำระหนี้เหลือเท่าไหร่ และนั่นหมายถึงวงเงินสินเชื่อที่ผู้ขอกู้สามารถขอเพิ่มได้ ดังนั้นการรีไฟแนนซ์ สินเชื่อบ้าน/ สินเชื่อส่วนบุคคล ไปยังสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยลดลง จะสามารถลดยอดผ่อนชำระต่อเดือนได้ง่ายๆ หรือ รีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต ที่มีอัตราการผ่อนขั้นต่ำที่ 10% เป็น สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีภาระผ่อนชำระลดลง และในบางกรณีสถาบันการเงินจะมีโปรโมชั่นที่มีดอกเบี้ยถูกกว่าอีกด้วยในกรณีรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต หรือรีไฟแนนซ์บ้าน ที่มักจะมีโปรโมชั่น สินเชื่อรีไฟแนนซ์ดีๆมาให้เราได้เลือกมากจากจากสถาบันการเงินที่แข่งกันดุเดือด ดังนั้นอย่าละเลยสิทธิของเราทุกๆ 3 ปี ที่สามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้นะ เพื่อประหยัดดอกเบี้ยได้แบบง่ายๆ




  1. เดินบัญชีธนาคารสม่ำเสมอ



สถาบันการเงินจะพิจารณารายได้ของผู้สมัครกู้จากเอกสารประกอบเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลที่สถาบันการเงินเชื่อถือมากที่สุดคือจำนวนเงินเข้าในบัญชีธนาคารนั่นเอง ถ้าเป็นพนักงานประจำที่รับเงินเดือนผ่านการโอนเข้าธนาคารอยู่แล้วอาจจะไม่จำเป็นต้องเดินบัญชี แต่ถ้าเป็นพนักงานที่รับเงินเดือนเป็นเงินสดควรจะต้องนำเงินเดือนเข้าไปฝากธนาคารก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานแสดงรายได้ ก่อนทยอยถอนมาใช้จ่ายทั่วไป เช่นเดียวกับกรณีเจ้าของกิจการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ ควรนำเงินมาฝากในธนาคารเป็นประจำ ถึงแม้จะรับรายได้เป็นเงินสดก็ตาม เพราะสถาบันการเงินจะยึดตามจำนวนเงินที่เข้าบัญชีธนาคารเป็นเกณฑ์ในการคำนวนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่านั้น




  1. เก็บเอกสาร/หลักฐานรายได้



สถาบันการเงินคำนวนรายได้ตามเอกสารประกอบเท่านั้น ดังนั้นควรเก็บเอกสารแสดงรายได้ให้พร้อม ถ้าเป็นพนักงานประจำก็แค่ สลิปเงินเดือน แต่ถ้ากรณีเจ้าของกิจการ/ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ก็จะต้องเก็บหลักฐานทางการค้า เช่น ใบสั่งซื้อ/สัญญาสั่งซื้อ/บิลกำกับภาษี หรือรายการเสียภาษีนิติบุคคลหรือภาษีบุคคลธรรมดา มาประกอบการสมัครกู้ และที่สำคัญเอกสารเหล่านี้สามารถแสดงถึงอายุกิจการหรือประสบการณ์ได้อีกด้วย โดยเฉพาะกรณีผู้ประกอบการอิสระ ที่ไม่ได้จดทะเบียนกับภาครัฐ ไม่มีหนังสือรับรองบริษัท/ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ทะเบียนการค้า ที่สามารถแสดงถึงอายุกิจการได้




  1. ใส่เบอร์โทรศัพท์บ้านและที่ทำงาน



สถาบันการเงินจะพิจารณาและให้คะแนนแก่ผู้สมัครกู้ที่มีเบอร์ที่ทำงานที่ติดต่อได้ และสามารถสอบถามหรือตรวจสอบได้ว่า ผู้สมัครได้ทำงานอยู่บริษัทนั้นๆจริง ถ้าผู้สมัครไม่มีเบอร์ประจำในที่ทำงาน ควรให้เบอร์โทรศัพท์ฝ่ายบุคคลของบริษัทไปแทน เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถติดต่อพูดคุย สอบถามจากฝ่ายบุคคล และให้ฝ่ายบุคคลของบริษัทเรา แจ้งกับสถาบันการเงินแทนได้ว่าผู้สมัครได้ทำงานอยู่ในบริษัทอยู่จริงและมีอายุงานตามที่ได้แจ้งไว้ เช่นเดียวกับเบอร์โทรศัพท์บ้าน ที่สถาบันการเงินมองว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการติดต่อผู้กู้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นควรกรอกเบอร์โทรศัพท์บ้านที่อยู่ปัจจุบัน หรือถ้าไม่มีเบอร์โทรศัพท์บ้านจริงๆ ควรจะใส่เบอร์โทรศัพท์บ้านญาติ ที่มีคนรับสายแทนได้



แค่ทำตาม 9 เคล็ดลับง่ายๆนี้ก็เพิ่มโอกาสสูงในการได้รับอนุมัติสินเชื่อต่างๆได้ง่ายๆแล้ว ลองเลย!


Coppyright by www.homedd.co.th
โทรศัพท์ 0-2395-2045 โทรสาร 0-2702-8495
เลขที่ 43 ชั้น 1 ถนนศรีสมุทร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองฯ สมุทรปราการ 10270