การขอ สินเชื่อที่อยู่อาศัย นั้นก็เหมือนการที่เราขอยืมเงินจากทางธนาคารไปซื้อบ้านก่อน และเปลี่ยนเจ้าหนี้จากผู้ขายบ้านมาเป็นธนาคารแทนนั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะขอ สินเชื่อที่อยู่อาศัย นั้น มี 2 อย่างที่เราต้องทำนั่นคือ การตรวจสภาพการเงินของตนเอง และการเลือกบ้านที่ถูกใจ
การตรวจสภาพการเงินของตนเอง
เป็นเรื่องที่สำคัญมากทีเดียว เพราะบ้านเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาสูง แม้ว่าจะขอ สินเชื่อที่อยู่อาศัย แล้วก็ตาม ดังนั้นหากสุขภาพทางการเงินไม่ดี ไม่พร้อมจะจ่ายเงินก้อนทุกเดือนเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้วล่ะก็ อาจจะต้องชะลอการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยไว้ก่อน หรือถ้าหากสุขภาพทางการเงินพร้อม เรื่องต่อไปที่ต้องจัดการก็คือ หนี้สินอื่นที่มีกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นๆ เพราะการขอ สินเชื่อที่อยู่อาศัย นั้น ทางธนาคารจะตรวจความสามารถในการชำระหนี้ผ่านเครดิตบูโร ซึ่งเครดิตนี้จะแสดงหนี้สินที่เรามี และประวัติการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ ดังนั้นจึงควรจัดการหนี้ก้อนอื่นให้เรียบร้อยก่อนทำการ ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย นั่นเอง
การเลือกบ้านที่ถูกใจ
นี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพราะบ้านเป็นสินทรัพย์ราคาสูงจึงต้องการสินเชื่อวงเงินสูง ธนาคารจึงต้องคัดเลือกผู้ขอสินเชื่อที่มีคุณภาพดีตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงควรเลือกซื้อบ้านในระดับราคาที่เหมาะกับรายได้ แต่การซื้อบ้านนั้นไม่ใช่การซื้อเสื้อผ้า การเลือกบ้านที่ไม่ถูกใจอาจทำให้คิดเสียดายเงินในภายหลังโดยที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ ดังนั้นถ้าหากยังไม่เจอบ้านที่ถูกใจ ทั้งรูปแบบ ทำเล และราคา ก็ไม่ต้องรีบร้อนตัดสินใจ ควรพิจารณาให้ดีก่อน
หากผ่านขั้นตอนการตรวจสภาพทางการเงินของตนเอง และมีบ้านที่ถูกใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับทางธนาคารนั้น หลักๆแล้วจะมีอยู่ 3 ขั้นตอนที่คล้ายคลึงกันทุกธนาคาร นั่นคือ
1.การเลือกธนาคารให้เหมาะสม หากพิจารณาให้ดีแล้ว จุดนี้นับว่าสำคัญที่สุดในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสิ่งที่เราต้องพิจารณาให้ดีคือ วิธีคิดอัตราดอกเบี้ยนั่นเอง
2.การเตรียมเอกสารเพื่อขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทางธนาคารมักจะแจ้งรายละเอียดไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นเอกสารอะไรบ้างเพื่อประกอบการพิจารณา เราต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมตามที่กำหนด
3.การยื่นเอกสารและรอผลอนุมัติ โดยปกติแล้วจะกินเวลาประมาณ 1 – 4 สัปดาห์ ในระหว่างการพิจารณาอาจมีการนัดหมายเพื่อทำการประเมินราคาที่อยู่อาศัยด้วย
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
สินเชื่อที่อยู่อาศัย ประกอบไปด้วย เงินต้น อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะมีผลต่อการคำนวณยอดเงินที่เราต้องชำระรายเดือน
เงินต้นของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
เงินต้น ในที่นี้หมายถึง จำนวนเงินที่กู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย และยังไม่ได้ชำระคืน ซึ่งเงินต้นนี้เองที่จะถูกนำไปคิดเป็นดอกเบี้ยรายเดือน ซึ่งผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะต้องชำระรวมกับเงินต้นในแต่ละเดือน
อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
โดยทั่วไปแล้วดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนี้จะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้ ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกว่า Minimum Retail Rate (MRR) และแสดงค่าในรูปแบบของ MRR – x% ตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้อยู่ที่ 6.6% และอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารคือ MRR -2.5% แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารคือ 4.1% นั่นเอง
ระยะเวลากู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ระยะเวลากู้ คือ ระยะเวลาผ่อนชำระเงินต้นรวมกับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อที่อยู่อาศัยและธนาคาร ซึ่งมีระยะเวลาสูงสุดนานถึง 40 ปี
การชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
การชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การชำระเงินต้น และการชำระดอกเบี้ย ซึ่งผู้ขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะต้องทำการชำระทั้ง 2 ส่วนนี้ทุกเดือนจนกว่าจะครบวงเงินของเงินต้นที่ได้ขอสินเชื่อไว้
การคำนวณดอกเบี้ยต่อเดือน
ดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น จะคำนวณเป็นรายเดือนจากอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่อยู่ในรูปของ MRR – x% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนี้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบรายปี และจะถูกนำมาหารด้วยจำนวนเดือนใน 1 ปีคือ 12 เดือน เพื่อหาดอกเบี้ยรายเดือนอีกครั้ง เช่น อัตราดอกเบี้ย 4.2% ต่อปี = 4.2/12 = อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน
ยอดผ่อนชำระต่อเดือนนั้นจะคิดจากเงินต้น และอัตราดอกเบี้ยรายเดือน เช่น ผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยขอสินเชื่อหรือเงินต้นทั้งหมด 1,000,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน แสดงว่าผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยต้องชำระเงินอย่างน้อยเท่ากับดอกเบี้ยของเงินต้น นั่นคือ 3,500 บาท โดยปกติแล้วทางธนาคารมักจะกำหนดยอดชำระมากกว่านี้เล็กน้อย เพื่อนำไปหักจากเงินต้น เมื่อเงินต้นลดลง ดอกเบี้ยก็จะลดลงตามไปด้วยนั่นเอง
Cr.money hub